Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








เด็กไทย : เหยื่อของการหลอกลวง

07 ส.ค. 2549

          ทำไหมใครๆ ถึงอยากได้เงินค่าขนมของเด็กและเยาวชนกันนัก?คำตอบง่ายๆ ก็คือ เด็กมีเงินมากและจ่ายง่าย ความด้อยประสบการณ์และการเชื่อถืออะไรได้ง่ายของเด็ก จึงถูกผู้ใหญ่นำมาใช้เป็นช่องทางสำคัญที่จะสร้างโฆษณากระตุ้นเร้าให้เกิดการซื้อ "ภาพลักษณ์” มากกว่าคุณค่าที่แท้จริงของสินค้า และนำไปสู่การปลูกฝังพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ใช่เหตุผล
 
          ตามวิถีการครอบงำของลัทธิบริโภคนิยมในสังคมทุนนิยม เด็กที่ซึมซับบทเรียนจากมิ่งมิตรโฆษณาทางโทรทัศน์เหล่านี้จะหลายเป็นลูกค้าคนสำคัญในวันนี้และวันหน้า ที่เทเงินหมดกระเป๋าเพื่อซื้อความฝันลมๆ แล้งๆ แถมเป็นนกต่อตัวน้อยน่ารักที่ทำให้พ่อแม่หยิบเงินออกจากกระเป๋าสตางค์ด้วยความห่วยใยลูก ทุ่มเทกับสินค้าที่ชุบชูความฝันลมๆ แล้งๆ อีกเช่นกัน 
 
          เด็กมีกำลังซื้อเท่าไหร่?
 
          ตัวเลขและข้อมูลจากการสัมมนาระดับชาติเรื่อง "เด็กไทยรู้ทัน” เปิดเผยว่า เด็กและเยาวชนอายุ 5-24 ปี ประมาณ 21 ล้านคน มีเงินไปโรงเรียนปีละ "สามแสนห้าหมื่นสี่พันเก้าร้อยเจ็บสิบเอ็ดล้านบาท” และในจำนวนนี้คิดเป็นเงินที่เด็กๆ จ่ายเพื่อซื้อขนมปีละ หนึ่งแสนหกหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยแปดสิบล้านบาท เท่านั้น
 
          ไม่มากมายอะไร คิดเป็นเงินแค่ 15.7% ของเงินงบประมาณแผ่นผิด พ.ศ.2547 หรือมากกว่างบประมาณประจำปีของ 6 กระทรวงรวมกันไปนิดหน่อยคือ 1.กระทรวงกลาโหม 78,551,324,500 บาท 2.กระทรวงการต่างประเทศ 5,401,181,300 บาท 3.กระทรวงพาณิชย์ 4,620,853,800 บาท 4.กระทรวงยุติธรรม 11,305,315,000 บาท 5.กระทรวงแรงงาน 12,958,581,300 บาท และ 6.กระทรวงสาธารณสุข 45,147,891,000 บาท
 
          ตรงนี้ เป็นที่น่าเสียดาย ถ้าใครอยากจะนำเงินที่เด็กซื้อขนมไปจัดการศึกษา เพราะเม็ดเงินยังไม่เพียงพอ คงจัดไม่ได้ทั่วถึง เพราะจัดได้ครอบคลุมเพียง 84.92% ของงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2547 จำนวน 190,262,836,200 บาท เท่านั้น
 
          หากตัวเลขเหล่านั้นดูไกลตัวมากไป มาดูในครอบครัวกันจะทำให้เห็นภาพชัดเจน

          ปัจจุบัน ครอบครัวไทย 16,470,000 ครัวเรือน(ซึ่ง 62.4%) มีหนี้สินรุงรัง) มอบเงินให้ลูกซื้อขนมกินเล่นคนละ 9,810.56 บาทต่อปี หรือเฉลี่ย 800 บาทต่อเดือนต่อคน โดยที่ครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยเพียงครัวเรือนละ 13,736 บาทต่อเดือน ถ้ามีลูก 2 คน เตรียมเงินไว้ได้เลย 1,600 บาทต่อเดือน
 
          แต่รู้ไหมว่า ครอบครัวจ่ายเงินเพื่อการศึกษาของลูกเท่าไหร่?

          มีลูกหนึ่งคนใช้ง่ายเงินเพื่อการศึกษาเฉลี่ยปีละ 3,024 บาท น้อยกว่าเงินซื้อขนมถึง 3.24 เท่า

          แล้วปัญหาคืออะไร ปัญหามีอยู่ 3 ประการ

          ประการแรก เด็กๆ จะเท่าทันบรรดาขนมเจ้าปัญหาได้อย่างไร ทั้งรู้จักโทษภัยและมีทางเลือกลดการบริโภคลง ประการที่สอง จะควบคุมโฆษณาหลอกเด็กได้อย่างไร ด้วยตัวเด็กเอง พ่อแม่ ครู โรงเรียนและรัฐบาล ประการที่สาม ทำอย่างไรเด็กและครอบครัวจะเท่าทันการใช้จ่ายเงินที่ไร้ประโยชน์ได้รับการพัฒนาทักษะ การเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาด รู้จักคิด รู้จักผลิต รู้จักออมทรัพย์ 
 
         ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ มีคำตอบ หากยอมรับร่วมกันว่า ปัญหาทั้งหมดนี้ เริ่มต้นจากโฆษณาสินค้าเด็กทางโทรทัศน์ที่ขาดความรับผิดชอบและไร้การควบคุม
 
         ที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือ ช่วงเช้าวันเสาร์-อาทิตย์ เด็กไทยส่วนใหญ่ใจจดใจจ่อ เฝ้ารอชมรายการการ์ตูนยอดนิยมทางสถานีโทรทัศน์สีช่อง 9 อสมท. วันเสาร์ที่ 14 ก.พ. หรือวันแห่งความรัก เมื่อทดลองอัดเทปรายการช่องดังกล่าวตั้งแต่เวลา 7.00-10.30 น. และนำมาวิเคราะห์ พบว่า การชมรายการ 5 รายการในช่วงนี้ ได้แก่ 1.อาซามิ แก๊ง 3 ซ่าซามูไร 2.สนุกคิด 3. ไฮไลท์การ์ตูน 9 4. ช่อง 9 การ์ตูน(โดราเอมอน ยอดกุ๊กแดนมังกร ครัชเกียร์เทอร์โบและฮันเตอร์เอ็กซ์ฮันเตอร์) และ 5.ซูเปอร์จิ๋ว
 
        เด็กไทยจะได้พบกับโฆษณาตรงจำนวน 67 ผลิตภัณฑ์ ความถี่ 132 ครั้ง และโฆษณาแฝงจำนวน 27 ผลิตภัณฑ์ ความถี่ 355 ครั้ง
 
        59 ผลิตภัณฑ์ จาก 67 ผลิตภัณฑ์ หรือร้อยละ 88 เป็นการโฆษณาอาหาร ซึ่งในจำนวนนี้ 42 ผลิตภัณฑ์เป็นโฆษณาสินค้าขนมกรอบๆ และลูกกวาดลูกอม
 
         ธรรมดาสินค้าเหล่านี้ก็ไม่มีประโยชน์อยู่แล้ว ยิ่งมีการโหมโฆษณา ยิ่งทำให้เกิดการบริโภคเกิน เด็กและเยาวชนไทยจึงตกอยู่ในปัญหาสุขภาพกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ เป็นประชากรทุกข์รุ่นใหม่ที่จะเติบโตมาเป็นทาสทุกข์ต่อจากรุ่นเดิม 
 
         ที่น่าตกใจเสียยิ่งกว่าก็คือ โฆษณาสินค้าขนมด็กไร้การควบคุมเป็นการเฉพาะ
 
 
เว็บไซต์ที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=4760599953531
แหล่งที่มา    : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ