Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








พิซซ่าซีฟูดขอบชีสตัวการ ‘ฉุ’

15 มิ.ย. 2549

         รายงานการวิจัยโครงการสุ่มศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารและน้ำ และการศึกษาข้อมูลจากกรณีศึกษา โดย ผศ.ดร.สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช และคณะ จากม.มหิดล ภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายวิจัยสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระบุชัดถึงสถานการณ์ปัญหาภาวะโภชนาการเกินในเด็กไทย เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคขนมและอาหารว่างที่ไม่เหมาะสม
 
         รายงานการวิจัยโครงการสุ่มศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารและน้ำ และการศึกษาข้อมูลจากกรณีศึกษา โดย ผศ.ดร.สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช และคณะ จากม.มหิดล ภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายวิจัยสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระบุชัดถึงสถานการณ์ปัญหาภาวะโภชนาการเกินในเด็กไทย เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคขนมและอาหารว่างที่ไม่เหมาะสม

          ดังนั้น หากเด็กรับประทานพิซซ่าเป็นอาหารหลัก แม้ว่าพลังงานที่ได้รับจะไม่มากเกินไป แต่การกระจายของพลังงานก็ไม่เหมาะสม เพราะได้รับไขมันมากเกินความจำเป็น เนื่องจากโดยปกติร่างกายควรได้รับไขมันไม่เกินร้อยละ 25 ของพลังงานทั้งหมด อีกทั้งในพิซซ่ายังมีโซเดียมอยู่ในปริมาณที่สูงถึง 533.8 มิลลิกรัม ต่อ 1 ชิ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
 
           "หากต้องการจะรับประทานพิซซ่าจริงๆ ก็ควรได้รับผักเพิ่ม เช่น ผักสลัดที่ใช้ทำสลัดซึ่งไม่มีไขมันและควรได้รับผลไม้หลังอาหารด้วย แต่หากรับประทานพิซซ่าเป็นอาหารมื้อว่าง ถือว่าไม่เหมาะกับสุขภาพเพราะพลังงานที่ได้รับมากเกินไป อันเป็นสาเหตุที่ทำให้อ้วน รวมทั้งนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือเบาหวานได้” ผศ.ดร.สิทธิพงษ์อธิบาย
 
            นอกจากนี้ จากการสุ่มวิเคราะห์ยังพบว่า ขนมโดนัทสอดไส้สตรอเบอร์รีซึ่งเป็นอาหารว่างยอดนิยมของเด็กวัยรุ่นอีกชนิดหนึ่ง ก็มีพลังงานในปริมาณที่ค่อนข้างสูง โดยโดนัท 1 ชิ้น หนัก 68 กรัม ให้พลังงานถึง 237 กิโลแคลอรี ขณะที่ปริมาณขนมและอาหารว่างที่แนะนำต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของพลังงานที่ได้รับทั้งวัน หรือประมาณ 200-300 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ขนมโดนัทเพียงชิ้นเดียวก็ให้พลังงานถึงร้อยละ 80 ของพลังงานที่ได้รับจากอาหารว่างทั้งวันแล้ว หากมีการดื่มเครื่องดื่มเข้าไปอีกส่วนหนึ่งก็จะทำให้ได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็นของร่างกาย
 
            ขณะที่ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอหลักเกณฑ์ทางเลือกของการบริโภคขนมและอาหารว่างสำหรับเด็กไทย ว่า
1) ไม่ควรบริโภคขนมเกินวันละ 2 มื้อ
2) ปริมาณพลังงานจากอาหารว่างไม่ควรเกิน ร้อยละ 20 ของพลังงานที่ควรได้รับทั้งวัน โดยเฉลี่ยมื้อละ 100-150 กิโลแคลอรี สำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี
3) ควรจำกัดปริมาณน้ำมัน น้ำตาล และโซเดียมไม่ให้สูงเกินไป โดย น้ำมันไม่ควรเกินวันละ 5 กรัม น้ำตาลไม่ควรเกินวันละ 24 กรัม และโซเดียมไม่ควรเกินวันละ 200 มิลลิกรัม
4) ควรมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอีกไม่น้อยกว่า 2 ชนิด แต่ละชนิดมีปริมาณไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งได้แก่ โปรตีน, เหล็ก, แคลเซียม, วิตามินเอ, วิตามินซี, วิตามินบี 1, วิตามินบี 2 และใยอาหาร
5) ควรมีกลุ่มอาหารตามธงโภชนาการไม่น้อยกว่า 2 กลุ่ม (กลุ่มข้าว, แป้ง, ผัก, ผลไม้, เนื้อสัตว์, ถั่วเมล็ดแห้ง, นม ฯ)
6) ผลไม้สดเป็นอาหารว่างทางเลือกที่ดี มีประโยชน์ มีแร่ธาตุ ใยอาหาร และวิตามิน
 
 
เว็บไซต์ที่มา : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9490000064221
แหล่งที่มา    : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ