Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๕

26 ต.ค. 2565

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์

Present เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์





สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อเป็นการหามาตรการในการช่วยเหลือผู้บริโภคและแก้ไขปัญหาหนี้สินของผู้บริโภคที่ทำสัญญา เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ที่ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับรายได้และได้รับผลกระทบในการประกอบอาชีพ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ โดยสาระสำคัญของประกาศดังกล่าว ประกอบด้วย ๔ ประเด็นหลัก ดังนี้

    ๑) การกำหนดกรอบอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ มี ๓ ประเภท
      ๑.๑ รถยนต์ใหม่ ต้องไม่เกินอัตรา ร้อยละ ๑๐ ต่อปี
      ๑.๒ รถยนต์ใช้แล้ว ต้องไม่เกินอัตรา ร้อยละ ๑๕ ต่อปี
      ๑.๓ รถจักรยานยนต์ ต้องไม่เกิน ร้อยละ ๒๓ ต่อปี
    ๒) หากผู้บริโภคนำเงินมาชำระค่างวดครบก่อนกำหนด (ปิดบัญชี) จะได้รับส่วนลดดอกเบี้ยในการปิดค่างวดเป็นขั้นบันได มี ๓ กรณี ดังนี้
      ๒.๑ ชำระค่างวด ไม่เกินหนึ่งในสาม ของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับส่วนลด ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
      ๒.๒ ชำระค่างวด ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม แต่ไม่เกินสองในสาม ของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับส่วนลด ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบ ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
      ๒.๓ ชำระค่างวด เกินกว่าสองในสาม ของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับ ส่วนลดทั้งหมดของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
    ๓) ติ่งหนี้ในกรณีนำรถออกขายทอดตลาด
    หากผู้บริโภคถูกยกเลิกสัญญา และผู้ให้เช่าซื้อนำรถออกขายทอดตลาด โดยปกติแล้วผู้บริโภคต้องรับผิดชอบค่างวดที่ค้างอยู่ตามสัญญาประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งประกาศฉบับนี้ให้คิดได้เฉพาะเงินต้นเท่านั้น
    ๔) การคิดเบี้ยปรับในการผิดนัดชำระ
    กรณีผู้บริโภคชำระค่างวดล่าช้า หรือผิดนัดชำระค่างวด ผู้ให้เช่าซื้อสามารถคิดเบี้ยปรับจากผู้บริโภคได้ไม่เกินอัตราร้อยละห้าต่อปี โดยคำนวณจากยอดเงินที่ผิดนัดชำระ
    โดยประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๖๕ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๖ ซึ่งจะบังคับใช้เฉพาะสัญญาเช่าซื้อที่ทำตั้งแต่วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป ส่วนสัญญาเช่าซื้อที่ทำก่อนวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๖ ยังคงมีผลบังคับใช้ไปจนกว่าจะสิ้นสุดสัญญา
    ทั้งนี้ หากผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิจากผู้ประกอบธุรกิจ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ทางสายด่วน ๑๑๖๖ หรือร้องทุกข์ ผ่านทางแอปพลิเคชัน OCPB Connect หรือผ่านทางเว็บไซต์ ocpb.go.th ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

คำถาม/คำตอบ

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.๑๕๖๕

อันดับ

คำถาม

คำตอบ

ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีขอบเขตอย่างไร เป็นการให้เช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ให้กับ "บุคคลธรรมดา” และนำไป "ใช้ส่วนตัว” เท่านั้น โดยไม่นำไปใช้ในการขนส่ง เพื่อทำการค้าหรือประกอบธุรกิจ เช่น นำไปรับจ้างขนของ รับจ้างรับส่งคน เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเรียกเก็บจากผู้เช่าซื้อได้ ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเรียกเก็บจากหน่วยงานราชการเช่น กรมการขนส่งทางบกเรียกเก็บเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ (ค่าภาษีประจำปี ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียน ค่าธรรมเนียมการโอนทะเบียน) และประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถฯ)
ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ค่าเช่าซื้อกรณีที่ผู้บริโภคผิดนัดชำระค่างวดเช่าซื้อ ผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเรียกเก็บจากผู้บริโภคอย่างไร ต้องทำตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้กำหนด เช่น
  • ผิดนัดหนึ่งงวด เรียกเก็บได้ไม่เกิน ๕๐ บาท ต่อรอบการทวงถามหนี้
  • ผิดนัดสองงวดขึ้นไป เรียกเก็บได้ไม่เกิน ๑๐๐ บาท ต่อรอบการทวงถามหนี้
  • กรณีที่มีการลงพื้นที่ติดตามทวงถามหนี้ เรียกเก็บเพิ่มได้ไม่เกิน ๔๐๐ บาท ต่อรอบการทวงถามหนี้
  • ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ ไม่ใช่ "ค่าติดตามเอารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์กลับคืน”
    ที่มีการบอกกันว่า ประกาศฯ ฉบับนี้มีการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจคิดดอกเบี้ยในลักษณะของการคิดดอกเบี้ย "แบบลดต้นลดดอก” (อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate)) เหมือนการผ่อนบ้าน จริงหรือไม่ การกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (Effective Interest Rate) ตามประกาศฯ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดกรอบ "เพดานดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อ” เช่น
  • รถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ต่อปี
  • รถยนต์ใช้แล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี และ
  • รถจักรยานยนต์ต้องไม่เกินร้อยละ ๒๓ ต่อปี
  • ทั้งนี้ วิธีการคิดดอกเบี้ยสัญญาเช่าซื้อฯ เป็น "แบบการคิดดอกเบี้ยคงที่” (Flat Interest Rate) โดยคิดตลอดอายุสัญญาฯ ในครั้งเดียวแล้วหารเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ผ่อนชำระ เช่น ๔๘ งวด ๖๐ งวด เป็นต้น ให้มีการผ่อนชำระ ในอัตราเท่าๆ กัน ตลอดอายุสัญญา แต่ "สัดส่วนเงินค่างวดในแต่ละงวด” จะถูกคิดตามประกาศเรื่อง สัญญาเช่า ของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ซึ่งจะแสดงเป็น "ตารางแสดงภาระหนี้” แนบท้ายสัญญาเช่าซื้อ ให้ผู้บริโภคทราบว่า ในแต่ละงวดที่ผ่อนชำระมี "เงินต้นและดอกเบี้ย” เท่าไร

    ตัวอย่างการคิดคำนวณดอกเบี้ยเช่าซื้อฯ และดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน

  • กรณีเช่าซื้อรถยนต์
    สมมติให้ดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์อยู่ที่ ๕% ต่อปี รถมูลค่า ๗๕๐,๐๐๐ บาท ถ้าต้องผ่อน ๕ ปี ทั้งหมด ๕ งวด (สมมติให้จ่ายรายปี เพื่อง่ายต่อการคำนวณ) ดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายเท่ากับ ๗๕๐,๐๐๐ x ๕% = ๓๗,๕๐๐ บาท/ปี จำนวน ๕ ปี ๓๗,๕๐๐ x ๕ = ๑๘๗,๕๐๐ บาท เท่ากับว่า เราติดหนี้ทั้งหมด ๗๕๐,๐๐๐ + ๑๘๗,๕๐๐ บาท = ๙๓๗,๕๐๐ บาท ผ่อนทั้งหมด ๕ งวด ๆ ละ ๙๓๗,๕๐๐/๕ = ๑๘๗,๕๐๐ บาท
  • กรณีผ่อนบ้าน
    สมมติให้ราคาบ้าน ดอกเบี้ยเงินกู้ และให้จ่ายรายปีเช่นเดียวกัน ดอกเบี้ยปีแรกเท่ากับ ๗๕๐,๐๐๐ x ๕% = ๓๗,๕๐๐ บาท/ปี ในกรณีนี้ธนาคารจะกำหนดให้เราเลยว่า จะต้องจ่ายปีละเท่าใดเพื่อให้หนี้หมดพอดี อย่างกรณีนี้เท่ากับ ปีละ ๑๗๓,๒๓๑ บาท แสดงว่า เมื่อผ่านไป ๑ ปี เราจะมีหนี้คงเหลือกับธนาคารเท่ากับ ๗๕๐,๐๐๐ + ๓๗,๕๐๐ – ๑๗๓,๒๓๑ = ๖๑๔,๒๖๙ บาท ดอกเบี้ยปีที่สอง เท่ากับ ๖๑๔,๒๖๙ x ๕% = ๓๐,๗๑๓ บาท เป็นเช่นนี้ จนครบ ๕ ปี
  •  

    หากผู้เช่าซื้อชำระค่างวดเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว มีสิทธิและหน้าที่อย่างไร กรณีที่ผู้เช่าซื้อชำระค่างวดครบถ้วนตามสัญญา ผู้ประกอบธุรกิจ ต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ให้ผู้เช่าซื้อภายใน "๓๐ วัน” นับจากวันที่ได้รับเอกสารที่จำเป็นในการจดทะเบียน หากผู้ให้เช่าซื้อไม่ดำเนินการ ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้อง ดังนี้
  • เรียกเบี้ยปรับ
  • เรียกค่าเสียหาย ค่าธรรมเนียม ค่าทนายความ (กรณีมีการฟ้องคดี)
  • เรียกค่าปรับตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบก (ถ้ามี)
  • หากผู้เช่าซื้อมีความประสงค์ที่จะขอเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อ ทำได้หรือไม่ มีเงื่อนไขอย่างไร สามารถทำได้โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อ และอาจมีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อฯ แต่ต้องไม่เกิน ๒,๕๐๐ บาท
    ผู้ให้เช่าซื้อสามารถนำเงินค่างวดของผู้เช่าซื้อมาหักเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบ ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ ค่าเบี้ยปรับผิดนัด ทำได้หรือไม่ อย่างไร สามารถทำได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งผู้เช่าซื้อทราบก่อนล่วงหน้า ๗ วัน จึงจะทำได้ หากไม่มีหนังสือแจ้งผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิ
    กรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และกลับเข้าครอบครองรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่หรือเงื่อนไขอย่างไร ก่อนนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ออกประมูลหรือขายทอดตลาด
  • ต้องมีหนังสือแจ้งผู้เช่าซื้อ ผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ใช้สิทธิปิดบัญชี (ตามมูลหนี้ในสัญญา) ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
  • ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน มีสิทธิได้ส่วนลดดอกเบี้ยเช่าซื้อของงวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้
      1) ผ่อนมาแล้วไม่เกิน ๑ ใน ๓ ของจำนวนตามสัญญา ได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
      2) ผ่อนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ แต่ไม่เกิน ๒ ใน ๓ ของจำนวนตามสัญญา ได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐
      3) ผ่อนมาแล้วเกินกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนตามสัญญา ได้รับส่วนลดทั้งหมด
  • ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันมีสิทธิให้บุคคลอื่นมาใช้สิทธิปิดบัญชีแทนได้ และได้รับสิทธิเช่นเดียวกับผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน
  • กรณีผู้ให้เช่าซื้อไม่มีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกันทราบ ผู้ให้เช่าซื้อต้องรับผิดในความเสียหายจากการที่ไม่แจ้งดังกล่าว
  • เมื่อผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ทราบราคาที่จะนำออกประมูลหรือขายทอดตลาด จะเปลี่ยนแปลงราคาได้หรือไม่

    ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงราคาเปิดออกประมูลหรือขายทอดตลาดได้ (ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน)

    เว้นแต่ มีการแจ้งซ้ำถึงการเปลี่ยนแปลงให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันทราบก่อนวันที่จะทำการออกประมูลขายหรือขายทอดตลาด

    ๑๐ กรณีที่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ถูกนำออกประมูลหรือขายทอดตลาดแล้ว มีผลต่อผู้เช่าซื้ออย่างไร

    หากได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวคืน

    หากได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบในมูลหนี้ดังกล่าว แต่ผู้ให้เช่าซื้อต้องไม่เรียกเก็บ "ดอกเบี้ยเช่าซื้อ” ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระหลังจากที่บอกเลิกสัญญากับผู้เช่าซื้อ

    ๑๑ การประมูลหรือขายทอดตลาดผู้ให้เช่าซื้อสามารถใช้วิธีการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่ และมีเงื่อนไขหรือวิธีการอย่างไร

    ผู้ให้เช่าซื้อสามารถทำการประมูลหรือขายทอดตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ประกาศฯ กำหนดไว้

    รวมถึง ผู้ให้เช่าซื้อต้องมีการชี้แจง/อธิบาย รายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขและวิธีการเข้าร่วมประมูลหรือขายทอดตลาดให้ผู้เช่าซื้อทราบด้วย

    ๑๒ ใครมีสิทธิเข้าร่วมประมูลหรือขายทอดตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ได้บ้าง

    ทุกคนสามารถผู้เข้าร่วมประมูลหรือขายทอดตลาดโดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ให้บริการประมูลหรือขายทอดตลาด (ลานประมูล)

    ยกเว้น "ผู้ให้เช่าซื้อ” ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ให้พนักงานเข้าร่วมประมูลฯ หรือให้บริษัทในเครือเข้าร่วมประมูลฯ เป็นต้น

    ๑๓ กรณีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์มีความชำรุดบกพร่อง/เสียหาย ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องได้หรือไม่

    ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้องความเสียหายจากผู้ขายหรือผู้ผลิตได้โดยตรง ตามเงื่อนไขของการรับประกันรถยนต์และรถจักรยานยนต์

    รวมถึง มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย หากมีส่วนเกินจากหนี้ที่คงเหลือตามสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทประกันภัยโดยตรง

    ๑๔ การติดต่อระหว่างผู้ให้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อ และผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ต้องปฏิบัติอย่างไร

    ผู้ให้เช่าซื้อต้องทำเป็น "หนังสือ” ส่งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ทาง "ไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ” ตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อหรือที่มีการแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือหลังสุด

    หรืออาจมีการส่งคำบอกกล่าวผ่าน "จดหมายอิเล็กทรอนิกส์” (E-mail) แทน แต่ต้องให้ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกัน แจ้งความจำนงเป็นหนังสือ

    ๑๕ หากผู้เช่าซื้อไม่ต้องการผ่อนชำระค่างวดตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อ แต่ต้องการปิดบัญชี (ทั้งหมดในคราวเดียว) ผู้เช่าซื้อจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไร

    จะต้องมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเช่าซื้อตามมาตรฐานการบัญชีของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีโดยมีเงื่อนไข ดังนี้

  • ผ่อนมาแล้วไม่เกิน ๑ ใน ๓ ของจำนวนตามสัญญา ได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
  • ผ่อนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ แต่ไม่เกิน ๒ ใน ๓ ของจำนวนตามสัญญา ได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐
  • ผ่อนมาแล้วเกินกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนตามสัญญา ได้รับส่วนลดทั้งหมด
  • ๑๖ กรณีที่ผู้เช่าซื้อชำระเงินค่างวดล่าช้าหรือผิดนัดชำระค่างวด ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิคิดเบี้ยปรับจากผู้เช่าซื้อหรือไม่ อย่างไร ถือว่า เป็นเรื่องที่ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดนัดชำระค่างวด จึงต้องรับผิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยที่ผู้ให้เช่าซื้อสามารถคิดค่าเบี้ยปรับจากผู้เช่าซื้อได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ ๕ ต่อปี จากจำนวนยอดเงินค่างวดที่ผิดนัดชำระเท่านั้น
    ๑๗ หากผู้ให้เช่าซื้อต้องการให้ผู้เช่าซื้อเปลี่ยนแปลง "ผู้ค้ำประกัน” ทำได้หรือไม่ สามารถทำได้หากเป็นกรณีที่ผู้ค้ำประกัน "ถึงแก่ความตาย” "ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด” "เป็นบุคคลล้มละลาย” "เป็นคนไร้ความสามารถ” หรือ "เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ”
    ๑๘ กรณีที่รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ "สูญหาย ถูกทำลาย ถูกยึด ถูกอายัด หรือถูกริบ” ผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดชอบค่างวดที่เหลือตามสัญญาฯ หรือไม่

    หากมีข้อเท็จจริงว่า รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ "สูญหาย ถูกทำลาย ถูกยึด ถูกอายัด หรือถูกริบ” โดยไม่ใช่ความผิดของผู้เช่าซื้อ ๆ ไม่ต้องรับผิดชอบค่างวดที่เหลืออยู่ตามสัญญาฯ

    แต่อาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ "ค่าเบี้ยปรับผิดนัดชำระค่างวด ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ หรือค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่เหลือตามสัญญาฯ”

    ๑๙ สัญญาเช่าซื้อที่ทำอยู่ในปัจจุบันต้องทำอย่างไร บรรดาสัญญาเช่าซื้อที่ทำอยู่ยังคงมีผลบังคับใช้กันต่อไป ตามเงื่อนไขและวิธีการที่ประกาศฯ ปี พ.ศ.๒๕๖๑ กำหนด
    ๒๐ ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อใด มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป




    ( สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค )