Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาค

         พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักร ปัจจุบันแต่ละจังหวัดจะมีองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้แก่


๑.  คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ประกอบด้วย
     ๑.   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำจังหวัด          
ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอขอแต่งตั้ง
ที่ปรึกษาอนุกรรมการ
     ๒.   ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในเขตรับผิดชอบ      ที่ปรึกษาอนุกรรมการ
     ๓.   ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานอนุกรรมการ
     ๔.   รองผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง รองประธานอนุกรรมการ
     ๕.   นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองประธานอนุกรรมการ
     ๖.   ปลัดจังหวัด อนุกรรมการ
     ๗.   อัยการจังหวัด อนุกรรมการ
     ๘.   ผู้บังคับการตำรวจภูธร อนุกรรมการ
     ๙.   เกษตรและสหกรณ์จังหวัด อนุกรรมการ
     ๑๐.   พาณิชย์จังหวัด อนุกรรมการ
     ๑๑.   สาธารณสุขจังหวัด อนุกรรมการ
     ๑๒.   อุตสหกรรมจังหวัด อนุกรรมการ
     ๑๓.   ขนส่งจังหวัด อนุกรรมการ
     ๑๔.   เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด อนุกรรมการ
     ๑๕.   ประชาสัมพันธ์จังหวัด อนุกรรมการ
     ๑๖.   ประธานหอการค้าจังหวัด อนุกรรมการ
     ๑๗.   ประธานสภาอุตสหกรรมจังหวัด อนุกรรมการ
     ๑๘.   ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจาก
ภาคประชาชน ๓ คน (โดยให้เลือกจากกลุ่ม
เครือข่ายสื่อมวลชน สถาบันการศึกษา กลุ่มสตรี
หรือกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัด
อนุกรรมการ
     ๑๙.   หัวหน้าสำนักงานจังหวัด อนุกรรมการและเลขานุการ
     ๒๐.   ข้าราชการในจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง ๒ คน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

        อนุกรรมการตามข้อ ๑๘ ให้อยู่ตำแหน่งคราวละ ๓ ปี หากพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ อาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นอนุกรรมการแทนได้และให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของอนุกรรมการซึ่งตนแทน

        คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
        ๑.  รับและพิจารณากลั่นกรองคำร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบธุรกิจในเรื่องเกี่ยวกับการถูกเอาเปรียบหรือเพื่อดำเนินการแก้ไขหรือนำเสนอต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พิจารณาใช้อำนาจดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
        ๒.  ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งการกระทำใดๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และอาจจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการใดๆ ตามที่เห็นสมควรและจำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค รวมทั้งให้มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการนี้ตามที่เห็นสมควร
        ๓.  สั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องที่มีผู้ร้องทุกข์ หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมาพิจารณาได้ ในการนี้ จะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงด้วยก็ได้
        ๔.  ประสานงานให้กับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
        ๕.  สอดส่องการปฏิบัติการตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติการตามอำนาจและหน้าที่ดังกล่าว
        ๖.  การให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน และการสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งของประชาชนเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
        ๗.  รายงานผลปฏิบัติงานในรอบเดือนให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบ

๒.  คณะอนุกรรมการผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
     ๑.   ผู้ราชการจังหวัด      ประธานอนุกรรมการ
     ๒.   อัยการจังหวัด อนุกรรมการ
     ๓.   ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด      อนุกรรมการ
     ๔.   ข้าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง      เลขานุการ
คณะอนุกรรมการฯ มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

๓.  คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคประจำจังหวัด ประกอบด้วย
      ๑.    อัยการจังหวัดประจำกรม
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ     
ทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัด
 ประธานอนุกรรมการ
      ๒.    หัวหน้าสำนักงานจังหวัด  อนุกรรมการ
      ๓.   ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง
ที่เกี่ยวข้องตามที่ประธานอนุกรรมการ
ในคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์
จากผู้บริโภคประจำจังหวัด มีหนังสือเชิญเข้าร่วม     
ประชุมเป็นครั้งๆ ไป ครั้งละไม่เกิน ๒ คน      
 อนุกรรมการ
      ๔.    ผู้แทนสภาทนายความ
(ประธานสภาทนายความจังหวัด)
อนุกรรมการ 
      ๕.   ผู้แทนสำนักงานจังหวัด  อนุกรรมการและเลขานุการ 
      ๖.   ผู้แทนสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ
ทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัด 
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 

        คณะอนุกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์ให้แก่ผู้บริโภคหากคู่กรณีไม่ประสงค์และไม่ยินยอมให้ไกล่เกลี่ย ให้คณะอนุกรรมการฯ รวบรวมและสอบสวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมนำเสนอคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค


( )