Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

     พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคมีองค์ประกอบดังนี้

๑. นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
๒. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
๓. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
๔. ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
๕. ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรรมการ
๖. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
๗. ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
๘. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
๙. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
๑๐. ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน ๘ คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง (ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบธุรกิจ อย่างน้อยภาคละ ๒ คน) กรรมการ
๑๑. เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมการและเลขานุการ
๑๒. ข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวนไม่เกิน ๒ คน ผู้ช่วยเลขานุการ


อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

     พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๐ ให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

๑. พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ
๒. ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจตกลงกันก่อนมีการฟ้องคดีต่อศาล ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๓. ส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนงานคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
๔. กำหนดแนวทางการแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารตามมาตรา ๒๐ (๒/๒)
๕. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง และพิจารณาวินิจฉัยการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง

( )