Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตราย

นอกจากการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลากและการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสัญญาแล้ว พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 36 ยังให้อำนาจคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตราย ดังนี้
  • เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า สินค้าใดอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค คณะกรรมการอาจสั่งให้ผู้ประกอบ ธุรกิจดำเนินการ ทดสอบหรือพิสูจน์สินค้านั้นได้ ถ้าผู้ประกอบธุรกิจไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการสั่งหรือดำเนิน การล่าช้าโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร คณะกรรมการจะจัดให้มีการพิสูจน์โดยผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้
  • ถ้าผลการทดสอบหรือพิสูจน์ปรากฏว่าสินค้านั้นเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และกรณีไม่อาจป้องกันอันตรายที่ จะเกิดจากสินค้านั้นได้โดยการกำหนด ฉลากตามมาตรา 30 หรือตามกฎหมายอื่น ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งห้าม ขายสินค้านั้นและถ้าเห็นสมควร จะสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงสินค้า นั้นภายใต้เงื่อนไขตามที่คณะกรรมการ กำหนดก็ได้ ในกรณีที่สินค้านั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือเป็นที่สงสัยว่าผู้ประกอบธุรกิจจะเก็บสินค้านั้นไว้เพื่อขาย ต่อไปคณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจทำลายหรือจะจัดให้มีการทำลายโดยผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายก็ได้
  • ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วน ถ้าคณะกรรมการมีเหตุที่น่าเชื่อว่าสินค้าใดอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ให้คณะกรรมการมีอำนาจสั่งห้ามขายสินค้านั้น เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะได้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า
  • ถ้าผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ ซึ่งสั่งห้ามขายสินค้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตเพื่อขายหรือเป็นผู้สั่ง หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย หรือการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ