Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








สคบ. ตรวจทองช่วงตรุษจีน สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค

19 ม.ค. 2566


วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2566 เวลา 11.00 น. เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ สคบ. ผู้แทนสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ สถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ์ และสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2 ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายทองรูปพรรณ ณ บริเวณถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ

 

นายธสรณ์อัฑฒ์ ฯ กล่าวว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนหรือเป็นวันปีใหม่ของชาวจีน ประเทศไทยก็ได้รับวัฒนธรรมดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยชาวไทยเชื้อสายจีนมักมีการซื้อสินค้าประเภททองรูปพรรณ เพื่อมอบเป็นของขวัญให้แก่บุคคลอันเป็นที่รัก อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติและเพื่อความเป็นสิริมงคล ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ประกอบธุรกิจที่จำหน่ายทองรูปพรรณบางรายจำหน่ายสินค้าทองรูปพรรณที่ไม่มีคุณภาพและไม่จัดทำฉลากสินค้าตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2544) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) ส่งผลให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการกำกับดูแลทั้งเชิงปราบปรามและป้องกัน เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าประเภททองรูปพรรณ ตลอดจนเป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2544) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2546) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) ที่กำหนดโดยผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายทองรูปพรรณมีหน้าที่ต้องจัดทำฉลากทองรูปพรรณ ใช้ข้อความที่ตรงต่อความเป็นจริงไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ในสาระสำคัญ และต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกำกับภาษาต่างประเทศที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน หากผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าประเภททองรูปพรรณ หรือพบเห็นผู้จำหน่ายทองรูปพรรณไม่จัดทำฉลากสินค้า สามารถร้องทุกข์ต่อ สคบ. ได้ทาง
www.ocpb.go.th และทางแอปพลิเคชัน OCPB Connect


( กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ )