Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาค

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ทั่ว ราชอาณาจักร ปัจจุบันแต่ละจังหวัดจะมีองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครอง ผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รวม 2 องค์กร ได้แก่
1. คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ประกอบด้วย
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานอนุกรรมการ
  • ปลัดจังหวัด อนุกรรมการ
  • เกษตรและสหกรณ์จังหวัด อนุกรรมการ
  • ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด อนุกรรมการ
  • พาณิชย์จังหวัดหรือผู้แทน อนุกรรมการ
  • ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด อนุกรรมการ
  • ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด อนุกรรมการ
  • สาธารณสุขจังหวัด อนุกรรมการ
  • อัยการจังหวัด อนุกรรมการ
  • อุตสาหกรรมจังหวัด อนุกรรมการ
  • นายกเหล่ากาชาดจังหวัดหรือผู้แทน อนุกรรมการ
  • ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง
    (จำนวนไม่เกิน 6 คน โดยมีผู้แทนภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง) อนุกรรมการ อนุกรรมการ
  • เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด อนุกรรมการ
  • ประชาสัมพันธ์จังหวัด อนุกรรมการ
  • นายกเทศมนตรีซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง 1 คน อนุกรรมการ
  • นายอำเภอซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง 3 คน อนุกรรมการ
  • หัวหน้าสำนักงานจังหวัด อนุกรรมการ
  • ข้าราชการในจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  • ข้าราชการในจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
  • พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ที่ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจหรือคำร้องเรียนทั่วๆ ไปในเรื่อง เกี่ยวกับการถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในการ ซื้อสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค หรือบริการที่มีการซื้อขายกันในท้องตลาด
  • แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียแก่สิทธิ ของผู้บริโภค ในการนี้จะระบุชื่อสินค้าหรือบริการหรือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจด้วยก็ได้
  • มีหนังสือเรียกให้บุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นหรือข้อมูล ที่เกี่ยวกับเรื่องที่มีผู้ร้องเรียนหรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมาพิจารณาได้ในการนี้ จะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้คำชี้แจงด้วยก็ได้
  • ประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การควบคุม ส่งเสริม หรือ กำหนดมาตรฐานของสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภคหรือบริการ
  • สอดส่องการปฏิบัติการตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของพนักงาน เจ้าหน้าที่ส่วน ราชการ หรือหน่วยงาน อื่นของรัฐ และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา เร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติการ ตามอำนาจและหน้าที่ดังกล่าวตลอดจนให้ดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องเร่งรัดราชการบริหารส่วนกลาง ให้แจ้งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองของผู้บริโภค
  • <>ดำเนินการเผยแพร่ ฝึกอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ผู้บริโภค
  • รายงานผลการปฏิบัติงานในรอบเดือนให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบ
2. คณะอนุกรรมการผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร
คณะอนุกรรมการผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานอนุกรรมการ
  • อัยการจังหวัด อนุกรรมการ
  • ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด อนุกรรมการ
  • ข้าราชการจังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เลขานุการ

คณะอนุกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยให้ ดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเปรียบเทียบตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค การดำเนินการร้องเรียนในส่วนภูมิภาค (ต่างจังหวัด) ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่คณะอนุกรรม การคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ณ ศาลาจังหวัด