Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








อำนาจหน้าที่

     632 views

สำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค แบ่งออกเป็น ๗ หน่วยงาน ดังนี้

          ๑๐.๑ ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (๑) รับผิดชอบดำเนินงานด้านการบริหารทั่วไปของหน่วยงาน

          (๒) งานสารบรรณ รับ-ส่ง บริการค้นหา/จัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ร่าง-พิมพ์หนังสือและเอกสารราชการ จัดทำสำเนาเอกสาร ทำลายเอกสาร

          (๓) ดำเนินงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลวัสดุ ครุภัณฑ์หน่วยงาน

          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการลาประเภทต่าง ๆ ของบุคลากร

          (๕) งานอำนวยการ/ประสานราชการ ติดต่อประสานราชการหรือหน่วยงานภายนอก

          (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          ๑๐.๒ ส่วนวิชาการ วางแผน และติดตามประเมินผล มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (๑) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณ ของส่วนราชการ

          (๒) ศึกษา วิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

          (๓) ประเมินความคุ้มค่า และการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานด้านการใช้จ่ายงบประมาณ

          (๔) ติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการ การประมวลผลและจัดทำสถิติ

          (๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          ๑๐.๓ ส่วนประสานงานภาครัฐและเอกชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เช่น ชมรม สมาคม และมูลนิธิ เพื่อร่วมดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ

          (๒) ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำกรุงเทพมหานครและเครือข่ายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้เป็นไปตามภารกิจ และเป้าหมาย

          (๓) เป็นศูนย์กลางการประสานงานความร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

          (๔) เป็นศูนย์ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมให้มีความพร้อมในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค

          (๕) ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน การจัดทำแผนงาน โครงการ และกิจกรรมด้านเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคให้เป็นไปตามแนวนโยบาย และยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

          (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          ๑๐.๔ ส่วนความร่วมมือกับต่างประเทศ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (๑) ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างประเทศ ความร่วมมือของอาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

          (๒) ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากลไกหรือมาตรการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

          (๓) ประสานงานการจัดทำแนวทางหรือมาตรการ หรือข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

          (๔) บริหารจัดการและประสานงานด้านต่างประเทศของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

          (๕) ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดต่อประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่างประเทศ

          (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          ๑๐.๕ ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (๑) ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ การจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แผนปฏิบัติราชการประจำปี โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ โครงการเชื่อมโยงระบบกับหน่วยงานภายนอก เป็นต้น

          (๒) ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา/จัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบงานประยุกต์ ระบบฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศ ระบบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบเครือข่ายสื่อสาร ระบบเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ด้านไอที

          (๓) ศึกษา วิเคราะห์ กำกับดูแล เสนอแนะนโยบาย ข้อบังคับระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการรักษาความมั่นคงด้านสารสนเทศ ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี ข้อกำหนดและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมและติดตามการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้พัฒนาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

          (๔) กำกับ ดูแล ตรวจสอบ การพัฒนา/การจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิค ข้อกำหนดตามความต้องการของผู้ใช้งาน และข้อกำหนดความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ

          (๕) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูล ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ระบบเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

          (๖) ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การกำหนดหลักสูตร การถ่ายทอดความรู้ด้านนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ และบริหารงบประมาณเกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

          (๗) ให้คำปรึกษา แนะนำ ประสานงาน แก้ไขปัญหาการใช้งานระบบสารสนเทศ ระบบเครือข่าย ระบบเครื่องแม่ข่าย ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

          (๘) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          ๑๐.๖ ส่วนประสานและส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด ๑ รับผิดชอบกลุ่มเขตตรวจราชการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มเขต ๑ , ๖ , ๗ , ๘ และ ๙ โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (๑) ประสานนโยบายและดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับภาคให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทด้านการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

          (๒) ศึกษา วิเคราะห์ การจัดทำแผนงาน โครงการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในระดับจังหวัดและระดับเขตพื้นที่เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ

          (๓) ให้คำปรึกษา ชี้แนะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคให้กับเครือข่ายในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับภาค

          (๔) บริหารจัดการการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ กลั่นกรองงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์ การเจรจาไกล่เกลี่ย วิธีการประนีประนอมข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบพฤติการณ์ผู้ประกอบธุรกิจในระดับจังหวัดร่วมกับจังหวัดหรือท้องถิ่น สนับสนุนการทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด คณะอนุกรรมการผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคประจำจังหวัด และบูรณาการกับคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัด คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยเอกชน

          (๕) ส่งเสริมและสนับสนุนนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานและเป็นการเชื่อมข้อมูลการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค

          (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมรณรงค์การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคสู่ชุมชน รวมถึงการสร้างความร่วมมือในการรวมพลังเป็นผู้บริโภคที่เข้มแข็งโดยการตั้งกลุ่ม ชมรมและสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคภาคเอกชน ในระดับจังหวัดและท้องถิ่น

          (๗) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในกรอบอาเซียนในระดับจังหวัดและท้องถิ่น

          (๘) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานความร่วมมือภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น

          (๙) ติดตามรายงานผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดและท้องถิ่น

          (๑๐) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          ๑๐.๗ ส่วนประสานและส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด ๒ รับผิดชอบกลุ่มเขตตรวจราชการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มเขต ๒ , ๓ , ๔ และ ๕ โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (๑) ประสานนโยบายและดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับภาคให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนแม่บทด้านการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

          (๒) ศึกษา วิเคราะห์ การจัดทำแผนงาน โครงการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในระดับจังหวัดและระดับเขตพื้นที่เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ

          (๓) ให้คำปรึกษา ชี้แนะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคให้กับเครือข่ายในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับภาค

          (๔) บริหารจัดการการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ กลั่นกรองงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์ การเจรจาไกล่เกลี่ย วิธีการประนีประนอมข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบพฤติการณ์ผู้ประกอบธุรกิจในระดับจังหวัดร่วมกับจังหวัดหรือท้องถิ่น สนับสนุนการทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด คณะอนุกรรมการผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคประจำจังหวัด และบูรณาการกับคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัด คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยเอกชน

          (๕) ส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานและเป็นการเชื่อมข้อมูลการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค

          (๖) ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมรณรงค์การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคสู่ชุมชน รวมถึงการสร้างความร่วมมือในการรวมพลังเป็นผู้บริโภคที่เข้มแข็ง โดยการตั้งกลุ่ม ชมรมและสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคภาคเอกชน ในระดับจังหวัดและท้องถิ่น

          (๗) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในกรอบอาเซียนในระดับจังหวัดและท้องถิ่น

          (๘) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานความร่วมมือภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น

          (๙) ติดตามรายงานผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดและท้องถิ่น

          (๑๐) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


( )