Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








สำนักงานเลขานุการกรม

     2,356 views

โครงสร้าง



อำนาจหน้าที่
          สำนักงานเลขานุการกรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทั่วไปของสำนักงานและราชการอื่นที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้รวมถึง

          (1) ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงาน

          (2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการและงานแผนงานของสำนักงาน

          (3) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคาร สถานที่และยานพาหนะของสำนักงาน

          (4) จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของสำนักงาน

          (5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง เว้นแต่คณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายและคณะอนุกรรมการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

          (6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักงานเลขานุการกรม แบ่งออกเป็น 6 หน่วยงาน ดังนี้

          1. ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) ดำเนินงานด้านการบริหารทั่วไป งานสารบรรณของสำนักงาน รับ-ส่ง บริการค้นหา/จัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ร่าง-พิมพ์หนังสือและเอกสารราชการ จัดทำสำเนาเอกสาร ทำลายเอกสาร

          (2) ดำเนินงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลวัสดุ ครุภัณฑ์หน่วยงาน

          (3) ดำเนินการด้านบริการ ดูแลอาคารสถานที่ ดูแลและควบคุมการใช้ห้องประชุม กำกับดูแลและควบคุมการใช้ยานพาหนะของสำนักงาน

          (4) อำนวยการ/ประสานราชการ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดประชุมผู้บริหารของสำนักงาน งานเลขานุการ

          (5) ควบคุม/จัดทำบัญชีการมาปฏิบัติราชการ การลา การสายของสำนักงาน

          (6) ดำเนินการช่วยอำนวยการ งานด้านการติดตามงานของผู้บริหาร การตรวจสอบ กลั่นกรอง พิจารณาเรื่องเสนอให้ผู้บริหารสั่งการในการอนุมัติ อนุญาต การดำเนินการด้านต่างๆ เพื่อให้การบริหารสั่งการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งภารกิจงานด้านการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

          (7) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

          (8) ดำเนินการเกี่ยวกับวิทยากรของสำนักงาน

          (9) ดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้แทนสำนักงานเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานของหน่วยงานภายนอก

          (10) ดำเนินการเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการจัดทำบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย

          (11) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          2. ส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) ดำเนินการเกี่ยวกับการสรรหา บรรจุ แต่งตั้ง การเลื่อนระดับ การย้าย การโอน การบรรจุกลับเข้ารับราชการ

          (2) ดำเนินการเกี่ยวกับการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

          (3) ดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุราชการ และการขอบำเหน็จบำนาญ

          (4) ดำเนินการเกี่ยวกับระบบจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล

          (5) ดำเนินการจัดทำบัญชีถือจ่ายเงินเดือน ข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำค่าตอบแทนพนักงานราชการ การเลื่อนเงินเดือน การให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว

          (6) ดำเนินการทางวินัย

          (7) ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน การต่อสัญญาจ้างพนักงานราชการ

          (8) ดำเนินการเกี่ยวกับจัดทำแผนบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน

          (9) ดำเนินการจัดทำแฟ้มประวัติ ก.พ. 7

          (10) การจัดทำข้อมูลบุคลากรใน DPIS การพัฒนาข้อมูลบุคลากรในระบบอิเล็กทรอนิกส์

          (11) ดำเนินการเกี่ยวกับระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของสำนักงาน

          (12) การดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลสมาชิก กบข. การแก้ไขข้อมูลและการขอรับเงินคืน

          (13) ดำเนินการเกี่ยวกับนักศึกษาฝึกงาน

          (14) ดำเนินการเกี่ยวกับการมอบหมายงาน/รักษาการ การปฏิบัติหน้าที่ราชการ

          (15) ดำเนินการรับรองประวัติบุคคล รับรองเงินเดือน รับรองการทำงาน จัดทำหนังสือผ่านสิทธิ์ รับรองสิทธิ์

          (16) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          3. ส่วนพัฒนาทรัพยากรบุคคล มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) จัดทำยุทธศาสตร์และแผนสำหรับการพัฒนาบุคลากร

          (2) จัดหาและจัดสรรงบประมาณ / ทุน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับทุนศึกษา ฝึกอบรม ทั้งในและต่างประเทศ

          (3) จัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรในสำนักงาน

          (4) ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการพัฒนาบุคลากรของสำนักงาน

          (5) ดำเนินการเกี่ยวกับคุณธรรม จรรยาข้าราชการ

          (6) ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนและดำเนินการด้านอัตรากำลังของสำนักงาน

          (7) ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง การเปลี่ยนสายงานข้าราชการของสำนักงาน

          (8) ดำเนินการเกี่ยวกับการขอพระราชทานเพลิงศพ

          (9) ดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอขอเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ พ.ต.ก.

          (10) ดำเนินการในฐานะเลขานุการ อ.ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

          (11) จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและดำเนินการตามแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิต

          (12) ดำเนินการเกี่ยวกับการลาไปต่างประเทศ

          (13) ดำเนินการเกี่ยวกับประโยชน์เกื้อกูลตามระเบียบสวัสดิการ งานเลขานุการคณะกรรมการสวัสดิการ สคบ.

          (14) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          4. ส่วนการเงินและบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) บริหารงานเงินนอกงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานของสำนักงาน

          (2) จัดทำแผนและผลการใช้จ่ายเงิน รวมทั้งบริหารเงินงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานของสำนักงาน

          (3) จัดทำรายการบัญชี ทะเบียนหลักฐานทางบัญชีเพื่อควบคุมการเบิกจ่ายตามระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

          (4) จัดทำรายการบัญชีเงินกองทุนสวัสดิการและเงินทุนกลาง

          (5) จัดทำรายงานทางการเงิน งบประมาณรายจ่าย เงินนอกงบประมาณ เงินกองทุนสวัสดิการ และเงินทุนกลางของสำนักงาน

          (6) จัดทำงบการเงินประจำปี รายงานประจำปีของสำนักงาน

          (7) ดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน และควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณของกรม ตามระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

          (8) จัดทำข้อมูลเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนตามระบบเบิกจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง

          (9) ตรวจสอบและเสนอขออนุมัติการเบิกจ่ายเงินและขอจ่ายเงินในระบบ GFMIS

          (10) การกันเงินงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน

          (11) ให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานด้านการเงินให้เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายแก่ข้าราชการของสำนักงาน

          (12) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          5. ส่วนพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) ศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแผนงาน จัดทำสัญญา และข้อตกลงต่างๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดหา และบริหารสินทรัพย์

          (2) กำกับ ควบคุม ดูแล การรักษาความสะอาด และความปลอดภัยบริเวณอาคารของสำนักงาน

          (3) ควบคุมดูแลสินทรัพย์ การปรับปรุงต่อเติมอาคาร สถานที่ การจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน

          (4) ดำเนินการจัดทำทะเบียนรายละเอียดเกี่ยวกับสินทรัพย์ แยกประเภทวัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ

          (5) ควบคุมดูแลการเบิกจ่าย ยืม คืน วัสดุ ครุภัณฑ์ ให้เป็นไปตามระเบียบ

          (6) ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง ตามระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

          (7) ควบคุม ดูแล ให้บริการ ตรวจสอบ และบริหารการใช้งานสินทรัพย์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับระดับการใช้จ่ายงบประมาณ

          (8) ควบคุมดูแลความเรียบร้อยและซ่อมแซมบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ และอาคารสถานที่ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี

          (9) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบพัสดุประจำปี การสอบหาข้อเท็จจริง ตลอดจนการจำหน่ายและการบริจาคพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ และไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งาน

          (10) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          6. ส่วนบริหารงานเรื่องราวร้องทุกข์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) บริหารเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค

          (2) ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

          (3) รับและกลั่นกรองเรื่องราวร้องทุกข์พร้อมจัดส่งเรื่องร้องเรียนให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและส่วนราชการอื่นๆ รับไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

          (4) ตรวจสอบเอกสารการร้องเรียน

          (5) ปฏิบัติการเป็นหน่วยขับเคลื่อนเร็ว

          (6) แก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคในเบื้องต้นเพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว

          (7) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามเรื่องร้องทุกข์ให้กับผู้บริโภค รวมทั้งประเมินผลและรายงานให้ผู้บริหารรับทราบ

          (8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


 


( )